น้ำมันหอมระเหยคืออะไร ?

Last updated: 18 Aug 2021  |  27526 Views  | 

น้ำมันหอมระเหยคืออะไร ?

1. น้ำมันหอมระเหยคืออะไร
          น้ำมันหอมระเหยเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากพืชตามธรรมชาติจากพืชหอม ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งสารเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อยู่ในเฉพาะส่วนอย่าง ต่อมบนผิวใบ บนเปลือก กลีบดอก เกสร ลำต้น ยางจากเปลือกลำต้น เป็นต้น ซึ่งภายในต่อมน้ำมันเหล่านั้นจะมีองค์ประกอบทางเคมีที่สลับซับซ้อนหลายร้อยชนิด น้ำมันที่สกัดออกมาได้จะเป็นของเหลว ไม่เหนียวเหนอะหนะ ซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว มีกลิ่นหอมธรรมชาติ และมีคุณสมบัติในเชิงบำบัดโรคได้ ซึ่งในน้ำมันแต่ละตัวนั้นก็จะมีผลในการบำบัดแตกต่างกันออกไป อย่างช่วยเรื่องการต้านอาการติดเชื้อ ฆ่าและยับยั้งแบคทีเรีย ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว ต้านอักเสบ กระตุ้น หรือช่วยทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดสะสม ทำให้สดชื่น หรือทำให้สงบ และมีสมาธิ เป็นต้น

2. ประวัติน้ำมันหอมระเหย
      การเริ่มใช้สารสกัดจากพืชหอมและน้ำมันหอมระเหยอย่างแพร่หลายในยุโรปและซีกโลกตะวันออกนั้นมีความเป็นมาประมาณห้าร้อยถึงหนึ่งพันห้าร้อยปีก่อนศริสตศักราช เนื่องจากการค้นพบคุณสมบัติของพืชที่ให้คุณประโยชน์ รวมไปถึงวิธีสกัดอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพืชแต่ละชนิดยังมีสรรพคุณไม่เหมือนกันอย่าง ลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ และออริกาโน่ เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ และอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยในการสร้างสมาธิอย่าง กำยาน ไม้จันทร์ และมดยอบ

      ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าประเทศใดหรือกลุ่มบุคคลใดเป็นผู้ริเริ่มการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างชัดเจนว่า  อียิปต์ จีน หรืออินเดีย ประเทศใดเป็นผู้ริเริ่ม ในส่วนของประเทศอียิปต์นั้นน้ำมันหอมระเหยที่ได้มีการค้นพบว่าใช้กันมายาวนานคือ กำยาน มดยอบ และจูนิเพอร์  ใช้สำหรับการคงสภาพของศพ มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการช่วยสมานรอยแผล ใช้ในการนวด ใช้ในการทำน้ำหอม ใช้ในการประทินผิว สำหรับในอินเดียนั้นมีการใช้น้ำมันหอมระเหยอย่างไม้จันทร์ ในช่วงกรีก ก่อนคริสศักราชได้มีการศึกษาการใช้สมุนไพร เม็กกอลัสเป็นบุคคลหนึ่งที่สำคัญในการริเริ่มสูตรการลดอักเสบและสมานแผลออย่าง “Megaleion”ขึ้นมา และนักปราชญ์หรือหมอที่มีชื่อว่าฮิปโปเครติสเป็นผู้ค้นพบว่า ออริกาโน่ มาร์จอแรม กำยาน และมดยอบ ในการสมานแผล แก้อักเสบ เป็นต้น ทำให้น้ำมันหอมระเหยในกรีกนั้นได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านการแพทย์ ทั้งยังใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางมาช้านานหลังจากนั้น

       สำหรับการถ่ายทอดความรู้การใช้น้ำมันหอมระเหยนั้นเชื่อว่าชาวกรีกได้รับวิชามาหลังจากที่ทำสงครามกับอียิปต์จนถ่ายทอดมาถึงชาวโรมันในเวลาไม่นาน  นอกจากอียิปต์ กรีก และโรมันแล้วยังมีอีกที่ที่ใช้ศาสตร์น้ำมันหอมระเหยอย่างช้านานอย่าง ประเทศจีน ที่ริเริ่มการใช้น้ำมันกุหลาบ มะลิ และคาโมมายด์ในการบำรุงผิวพรรณ เป็นยา และเครื่องสำอาง เป็นต้น

  • ในช่วงปีค.ศ. 100 สมัยโรมันมีการศึกษาการใช้น้ำมันและสมุนไพรมากกว่า 500 ชนิด ครั้งแรกที่มีการค้าน้ำมันนำเข้ามาจากเปอร์เซียของยุโรป
  • ในช่วงปี ค.ศ. 980 ได้มีการพัฒนาวิธีการกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำเป็นครั้งแรกของนวัตกรรมการหล่อเย็น จนได้น้ำมันกุหลาบ ต่อมาไม่นานในสมัยยุคกลางได้มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการต่อต้านโรคระบาด
  • ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ได้มีการคิดกระบวนการกลั่นน้ำมันหอมระเหยให้ดีขึ้น และต่อมาน้ำมันหอมระเหยก็ได้แพร่หลายในวงการแพทย์ในด้านการฆ่าเชื้อโรค
  • ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำน้ำมันมาแยกจากค่าความบริสุทธิ์ของพืช มาสังเคราะห์เป็นยา ทำให้แพทย์ทางซีกตะวันตกได้ใช้ศาสตร์น้ำมันหอมระเหยลดน้อยลง และการเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยบำบัดถือว่าไม่ได้รับการยอมรับ 

และได้มีการใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดอีกครั้งในปี ค.ศ 1910 เมื่อนักเคมีชาวฝรั่งเศสเรเน่ มอริช กัตฟอส ที่ได้ศึกษาผลของน้ำมันหอมระเหยด้วยตัวเอง เมื่อตอนที่เขาทำการทดลองและถูกไฟลวกจากการระเบิดในห้องทดลองด้วยความตื่นตระหนก เขาได้เอามือจุ่มลงในน้ำมันลาเวนเดอร์ และพบว่าอาการปวดของแผลนั้นลดลง แผลไม่เน่า ไม่เปื่อย สมานตัวดีขึ้นจนแทบไม่เป็นรอยแผลเป็น และนั่นทำให้เขาเริ่มการทดสอบน้ำมันหอมระเหยให้กับทหารที่อยู่ในโรงพยาลาบ นอกจากนี้ยังตั้งคำว่า “Aromatherapy”  รวมถึงแต่งหนังสือขึ้นอีกด้วย

 


3. กระบวนการการกลั่น
  • การกลั่นโดยไอน้ำ ( Steam Distillation )
กระบวนการกลั่นโดยไอน้ำ คือการนำพืชที่ต้องการกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหยวางไว้ในหม้อกลั่นด้านล่างที่มีน้ำตั้งอยู่ภายใน ต้มให้เดือด และไอน้ำที่เกิดขึ้นมานั้นจะกระจายขึ้นมาด้านบนผ่านพืชที่วางเอาไว้ จากนั้นไอน้ำที่มีน้ำมันหอมระเหยนี้จะวิ่งผ่านท่อจนไปถึงเครื่องควบแน่นที่มีท่อเย็น เมื่อน้ำมันหอมระเหยเจอกับความเย็น กลั่นตัวลงมา และตกในภาชนะกักเก็บ และน้ำมันหอมระเหยที่ได้ก็จะแยกชั้นกับน้ำ ซึ่งส่วนที่แยกชั้นอยู่ด้านบนนั้นคือน้ำมันหอมระเหยที่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ พืชที่ใช้การสกัดส่วนใหญ่นั้นได้แก่ ตะไคร้ ยูคาลิปตัส กระเพรา กานพลู และอบเชยเป็นต้น
  •  การกลั่นโดยการสกัดเย็น  (Cold press) 
กระบวนการกลั่นโดยการสกัดเย็น หรือเรียกว่าการบีบคั้นโดยใช้แรงบีบ วิธีนี้จะใช้กับพืชกลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหยมาก และได้น้ำมันหอมระเหบบริสุทธิ์ที่เป็นธรรมชาติมาก เพราะไม่ผ่านกระบวนการความร้อนใดๆ ที่ทำให้สูญเสียความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งวิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด เป็นต้น
  • การกลั่นโดยใช้ตัวทำละลาย  (Solvent Extraction)
เป็นการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอกไม้ที่ไม่สามารถใช้วิธีการกลั่นโดยใช้ไอน้ำได้ เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีในส่วนของพืชอาจจะระเหยตัวเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงต้องใช้ตัวทำละลายมาเข้าช่วย
  • การกลั่นโดยใช้คาบอนไดออกไซด์เหลว  (Vacuum Steam Distillation) 
วิธีการนี้จะเหมือนกับการกลั่นด้วยไอน้ำ แต่จะกลั่นภายใต้แรงดันสูง เพื่อลดจุดเดือดของน้ำลง และน้ำมันหอมระเหยที่ได้จะไม่ถูกทำลายด้วยแรงดันอุณหภูมิที่สูงกว่า

และวิธีที่นำมาใช้มากในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันสองวิธีคือการกลั่นโดยไอน้ำ และการกลั่นสกัดเย็น หรือการบีบนั้นเอง เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน
 
 
4. การใช้น้ำมันหอมระเหยในเชิงบำบัด

       การนำน้ำมันหอมระเหยไปใช้ในเชิงบำบัด หรือศาสตร์แพทย์ทางเลือก Aromatherapy หรือสุคนธบำบัดนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
  • 4.1 การนำไปใช้เพื่อความงาม
ในกลุ่มนี้นั้นจะเป็นการใช้กับร่างกายภายนอก อย่างเช่น ผิวกาย ผิวหน้า เส้นผม ทั้งยังเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางเพื่อความสวยความงานต่างๆ อย่างเช่นน้ำมันกุหลาบ น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมัน Base อื่นๆ ที่เหมาะกับผิว ช่วยในเรื่องการบำรุงผิว ชะลอริ้วรอยแห่งวัย ทำให้เซลล์ผิวเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ลดเลือนริ้วรอยจุดด่างดำ ผิวไม่สม่ำเสมอ ผิวจากรอยแผลหรือบาดแผลต่างๆ หรือแม้กระทั่งการดูแลเส้นผมให้แลดูมีสุขภาพดี ผมหลุดร่วง ผมบาง หรือแม้กระทั่งผมฟู ก็มีน้ำมันหอมระเหยหลายๆ ตัวที่ช่วยได้อย่าง ซีดาร์วู้ด ลาเวนเดอร์ ทีทรีออย เป็นต้น
  • 4.2 การนำไปใช้เชิงจิตบำบัด
เป็นการนำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในเชิงบำบัดเพื่อช่วยเยียวยาด้านจิตใจ ฟื้นฟูให้มั่นคง มีพลัง มีความมั่นใจ มองโลกในแง่บวก หรือปรับสมดุลให้มีสมาธิมากขึ้น ลดความตึงเครียดต่างๆ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดนั้นจะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักการนั้นคือการใช้สูดดม กลิ่นหอมที่เข้าไปภายในร่างกายจะกระทบกับเซลล์บริเวณโพรงจมูก ส่งสัญญาณไปยังสมองให้สั่งการต่อมต่างๆ เพื่อปรับฮอร์โมนที่ต่างกันออกมา ผลที่ดจะรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาอาการสับสน และน้ำมันหอมระเหยบางชนิดสามารถแก้โรคซึมเศร้า อาการทางจิตต่างๆ ทั้งนี้ก็จะให้ผลในด้านที่ต่างกันออกไปด้วยเช่นเดียวกัน น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำจะเป็นโทนดอกไม้ หรือโทนผลไม้เป็นหลักอย่าง ลาเวนเดอร์ มะกรูด เป็นต้น
  • 4.3 การนำไปใช้ด้านการรักษา

น้ำมันหอมระเหยกับการนำไปใช้ในด้านการรักษาร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นการบำบัดอีกทางนึง อย่างน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์มีสรรพคุณในเชิงช่วยเรื่องแก้อาการคัน แมลงกัดต่อย แผลไฟไหม้ โดนลวกพุพ่อง ช่วยเรื่องลบเลือนริ้วรอยเป็นต้น หรือจะเป็น เปปเปอร์มิ้นที่ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ หรือแก้เรื่องร้อนใน ลดความเครียดเป็นต้น และเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นสูง ระเหยเร็ว เวลาที่จะใช้กับร่างกายภายนอกควรเจือจางด้วยน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันตัวพา เพื่อให้การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการใช้ Aromatherapy หรือศาสตร์แพทย์ทางเลือกนั้นก็มีข้อจำกัด และวิธีการใช้น้ำมันบางตัวที่สลับซับซ้อน น้ำมันหอมระเหยไม่ใช่ยาดังนั้นต้องใช้เวลาในการบำบัด อีกทั้งต้องศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดก่อนที่จะใช้งานน้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวอีกด้วย และหากต้องการใช้ในการบำบัดโรคควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย

อย่างไรก็ตามแต่นี่เป็นเพียงการรักษาทางเลือก น้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่จะเน้นในด้านผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจเสียมากกว่า สิ่งสำคัญและจำเป็นต่อร่างกายจริงๆ คือการพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการ ทานอาหารให้ตรงต่อเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

5. การเลือกซื้อ และข้อแตกต่างของน้ำมันหอมระเหย แท้ vs สังเคราะห์
       น้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ นั้นจะมีกลิ่นที่คล้ายคลึงกับน้ำมันหอมระเหยแท้ค่อนข้างมาก เนื่องจากกลิ่นที่หอมติดทนนาน และทำให้ผู้ใช้รู้สึกพอใจในกลิ่นหอม แต่น้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์นี้จะไม่มีผลในการบำบัดรักษาเหมือนกับน้ำมันหอมระเหยแท้ เนื่องจากบางยี่ห้อนำส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยแท้มาจริง ทว่าก็ผสมสารเคมีเข้าไปด้วย หรืออาจจะเป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมดที่ส่วนผสมเป็นเคมี ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นอันตรายต่อระบบภายในร่างกาย หากใช้ในปริมาณมากติดต่อกันทุกวันจนสะสมภายใน ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพิจารณาให้ดีถึงความปลอดภัยจากน้ำมันหอมระเหยแต่ละยี่ห้อ โดยพิจารณาจากราคาของน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นๆ อย่างเช่นน้ำมันหอมระเหยกุหลาบนั้นมีการสกัดยากเนื่องจากใช้กลีบดอกในการสกัด ทำให้มีราคาสูง ขนาดปริมาณหนึ่งมิลลิลิตรนั้นราคาเกือบพัน หากว่าพบเจอน้ำมันหอมระเหยกุหลาบราคาไม่ถึงหลักร้อยนั้นให้พิจารณาไว้ว่าเป็นของเทียม สารสังเคราะห์ หรือไม่ก็อาจเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ถูกนำมาเจือจางเพื่อลดคุณภาพลงแล้วเท่านั้น

6. Gc analysis คืออะไร มาตรฐาน CPTG
       คือกระบวนการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยในด้านคุณภาพและปริมาณค่าความบริสุทธิ์ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณขององค์ประกอบทางเคมีพืชที่มีอยุ่ในน้ำมันหอมระเหยที่นำมาทดสอบ และรับรองผลได้ว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นเป็นของแท้ บริสุทธิ์ไร้การเจือปนจากสารเคมีใดๆ รวมไปถึงได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้สำหรับการบำบัดรักษาโรค

 

มาตรฐาน CPTG หรือ Certified Pure Therapeutic Grade

      เป็นมาตรฐานการรับรองน้ำมันหอมระเหยของน้ำมันหอมระเหยในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการจัดตั้งมาตรฐานนี้ขึ้นมาเพื่อทดสอบความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย รวมไปถึงผลการทดสอบต้องได้มาตรฐานขึ้นเอง มีการตรวจสอบลึกไปถึงสถานที่เพาะปลูกพืชที่ต้องไม่มีการใช้สารเคมีถึง 50 ปี ขึ้นไป สภาพอากาศ อุณหภูมิ ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด และการตรวจสอบค่าพื้นฐานอย่างมาตรฐานความบริสุทธิ์ ไร้สารเคมีเจือปน และอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบำบัดได้ทุก

ล็อตที่จะนำมาจำหน่าย  เพราะฉะนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่าน้ำมันที่ได้มาแต่ละขวดนั้น เป็นน้ำมันที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจริงๆ สามารถตรวจสอบน้ำมันได้ทุกขวด

โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ผลิตเครื่องสำอาง บริษัทผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตเครื่องสำอางขายส่ง ผลิตเครื่องสำอางกิโล ทำเครื่องสำอาง ทำเครื่องสำอางแบรนด์ตัวเอง รับผลิตเครื่องสำอาง สร้างแบรนด์เครื่องสำอาง ผลิตเครื่องสำอาง ทำแบรนด์เครื่องสำอาง โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์ ผลิตเครื่องสำอางค์ บริษัทผลิตเครื่องสำอางค์ โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์ขายส่ง ผลิตเครื่องสำอางค์กิโล ทำเครื่องสำอางค์ ทำเครื่องสำอางค์แบรนด์ตัวเอง รับผลิตเครื่องสำอางค์ สร้างแบรนด์เครื่องสำอางค์ ผลิตเครื่องสำอางค์ ทำแบรนด์เครื่องสำอางค์ โรงงานผลิตครีม ผลิตครีม บริษัทผลิตครีม โรงงานผลิตครีมขายส่ง ผลิตครีมกิโล ทำครีม ทำครีมแบรนด์ตัวเอง รับผลิตครีม สร้างแบรนด์ครีม ผลิตครีม ทำแบรนด์

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our นโยบายความเป็นส่วนตัว  and  นโยบายคุกกี้